การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการในคู่มือปฏิบัติปี 2005 มีดังนี้ 
การกดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพ
?ออกแรงกดอย่างแรงและเร็ว? ด้วยอัตราประมาณ 100 ครั้งต่อนาที (ยกเว้นทารกแรกเกิด)
อัตราส่วนระหว่างการกดหน้าอก:การช่วยหายใจ ที่ 30:2เมื่อมีผู้ช่วยชีวิตเพียงคนเดียว สำหรับผู้ป่วยทุกอายุ (ยกเว้นทารกแรกเกิด)
เป่าปากครั้งละ 1 วินาที ทำให้หน้าอกพองตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ให้มีการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 1 ครั้งแล้วตามด้วยการทำ CPR ทันที เพื่อกระตุ้นการเต้นของ
หัวใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันแบบ VF
การตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจจะกระทำทุก 2 นาที
ที่ให้มีการใช้เครื่อง AED ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 1 ถึง 8
ขวบ (และมากกว่า) ใช้ระบบเพื่อปรับลดขนาดของการ
กระตุ้นให้เหมาะกับเด็กหากมีระบบดังกล่าว
http://www.thaicpr.com/2005 AHA guideline for health care provider (HCP)
ADULT basic life support (BLS) and advanced cardiac life support (ACLS)
ศ.พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
? CPR guideline ค.ศ. 2005 มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ 5 ประการ ดังนี้
1. เน้นการกดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพ
2. กรณีที่มีผู้ช่วยคนเดียว ใช้อัตราส่วนระหว่างการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยทุกวัย ที่มีค่าเดียวกันตลอด (ยกเว้นทารกแรกเกิด)
3. การช่วยหายใจแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 1 วินาที จนเห็นทรวงอกขยับยกขึ้น
4. การ defibrillation สำหรับ VF arrest ควรให้ช็อค 1 ครั้งตามด้วย CPR ทันที 2 นาที แล้ว จึงเช็ค rhythm
5. สนับสนุน 2003 ILCOR recommendation สำหรับการใช้ AED ในเด็ก 1-8 ปี (และอายุมากกว่า) โดยใช้ระบบที่เหมาะสมกับเด็กถ้ามี
