โดย ado001 เมื่อ 18 ส.ค. 2012, 17:36
เอาเรื่องง่าย ๆ ก่อนนะคะ
เรื่องที่ 2 เงินเดือน ค่าตอบแทน เงินสวัสดิการต่าง ๆ
เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เรามีสิทธิได้รับ จะมีระเบียบมาเกี่ยวข้องกำหนดไว้ทั้งสิ้น
คงยุ่งยากเกินไปถ้าจะนำตัวระเบียบมาสื่อสาร
เงินเดือน คงรู้ว่าเรามีตำแหน่งอะไร ได้เงินเดือนเท่าไร เพดานตันแค่ไหน ครึ่งปีนี้ได้กี่เปอร์เซนต์ ฐานที่ใช้คิดเป็นเท่าไร ฝ่ายการเจ้าหน้าที่เค้าทำให้ และผ่านการตรวจสอบละเอียดยิบ จนผู้ว่าฯ ลงนาม ออกคำสั่ง ได้คำสั่งเมื่อไร ส่งให้ฝ่ายการเงิน เค้าก็จะไปทำตารางข้อมูลของเค้าอีกที แล้วก็ลงข้อมูลในโปรแกรมเงินเดือน จ่ายให้เรา
ส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับเงินเดือน คือ เรื่องภาษี กรุณาช่วยแจ้งข้อมูล เพื่อให้ จนท.เค้าหักภาษีด้วย
ซึ่งมีกฎหมาย ประมวลรัษฎากรบังคับอยู่ค่ะ
ข้าราชการจะมีเงินประจำตำแหน่ง ก็ต้องถึงเวลาทำผลงานประเมินขอรับ ต้องมีคำสั่งเหมือนกัน
ระดับชำนาญการ มาจาก ซี 6 - 7 เก่า ตอนเป็น 6 ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง เป็น 7 ถึงประเมินขอ พอเข้าแท่งก็เลยล้อกันมา เป็นชำนาญการตอนแรกยังไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ถ้าจำไม่ผิด 2 ปี ถึงจะขอประเมินได้ ถ้าระดับชำนาญการพิเศษ นอกจากเงินประจำตำแหน่ง ก็จะมีค่าตอบแทนเท่ากับเงินประจำตำแหน่งอีกด้วย ผู้ที่จะได้รับต้องมีตำแหน่งวิชาชีพที่ ก.พ.กำหนด
ส่วนเงินสวัสดิการจากทางราชการ
สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ ตัวหลักคือ ค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยการศึกษาบุตร
ที่อยากสื่อสารก็คือ เรื่องค่ารักษาพยาบาล ต้องมีข้อมูลของท่านและคนในครอบครัวส่งเข้าฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลางควบคุมให้เป็นปัจจุบัน [b]ทุกท่านมีหน้าที่ต้องนำข้อมูลมาแจ้งที่ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ เมื่อท่านมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล แต่งงาน หย่า มีบุตร ฯลฯ
เมื่อป่วยเป็นคนไข้ใน รพ.จะเรียกหนังสือรับรองสิทธิจากระบบได้เลย
แต่ถ้าเป็นคนไข้นอกต้องไปลงทะเบียนจ่ายตรงกับ รพ.ที่ท่านจะไปรักษาก่อน
ส่วนพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว ใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมค่ะ ได้สิทธิเฉพาะตัว
แต่ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยนอน รพ.ของเราเอง รพ.ก็มีสวัสดิการช่วยเหลือถึงคนในครอบครัวด้วยค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย
ado001 เมื่อ 19 ก.ย. 2012, 12:14, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.