- Critical Issue 1 การจัดการเชิงกลยุทธ์
ประเด็นปัญหา: ไม่มีการนำแผนกลยุทธ์ที่จัดทำขึ้นไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล
คำถาม:
-ผู้นำสื่อสารให้หน่วยงานและผู้ปฏิบัติทราบถึงความมุ่งหมายหรือเป้าหมายของแผนกลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้มีการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
-ทำอย่างไรให้เป้าหมายของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรและเป้าหมายขององค์กรเป็นเป้าหมายเดียวกัน
-มีวิธีการติดตามประเมินผลการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติอย่างไร นำระบบสารสนเทศมาใช้อย่างไร
-มีการสนับสนุน การใช้แรงจูงใจและการให้รางวัลอย่างไรเพื่อให้มีการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ได้ผล - Critical Issue 2 เวชระเบียน
ประเด็นปัญหา: บันทึกเวชระเบียนไม่สมบูรณ์และยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
คำถาม:
-ทำอย่างไรให้การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย เป็นมาตรฐานเดียวกัน
-ทำอย่างไรให้บันทึกข้อมูลผู้ป่วย ถูกต้อง ครอบคลุม สมบูรณ์
-ทำอย่างไรให้วิชาชีพต่างๆ เขียน progress note อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์
-จูงใจอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ลงบันทึกร่วมกันอย่างครบถ้วน
-ตัวอย่างรูปแบบ/วิธีการบันทึกที่เชื่อมโยง และนำข้อมูลของแต่ละวิชาชีพมาใช้
-มีวิธีการติดตามประเมินคุณภาพของการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างไร
-วิชาชีพต่างๆ นำบันทึกของวิชาชีพอื่นไปใช้อย่างไร (เช่น แพทย์ใช้ประโยชน์จากบันทึกทางการพยาบาลอย่างไร หรือพยาบาลใช้ประโยชน์จากบันทึกของแพทย์อย่างไร)
-ทำอย่างไรให้มีการใช้เวชระเบียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้ป่วย การประเมินและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
(บันทึกข้อมูลผู้ป่วยหมายถึงการบันทึกข้อมูลของทุกวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล) - Critical Issue 3 ทรัพยากรบุคคล
ประเด็นปัญหา 1: บุคลากรวิชาชีพต่างๆ มีความรู้ความสามารถและทักษะที่ไม่เพียงพอกับภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ
คำถาม:
-มีวิธีการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าจะทำงานได้อย่างมีคุณภาพ
-มีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มั่นใจว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเฉพาะ (เช่น ER ICU NICU OR Anes) จะมี competency ที่เหมาะสม
-มีวิธีการในการดูแลและประเมิน competency ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะและพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเฉพาะอย่างไร
-การประเมิน technical competency ที่ได้ผล เป็นไปได้ และประหยัดเป็นอย่างไร
-มีการเชื่อมโยงการประเมิน competency กับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการให้ความดีความชอบอย่างไร
-มีการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่นำผลการประเมิน competency มาพัฒนาตนเองอย่างไร
ประเด็นปัญหา 2: พฤติกรรมบริการยังคงเป็นปัญหาที่ได้รับคำร้องเรียนบ่อย
คำถาม:
-อะไรคือแนวทางที่ได้ผลในการลดปัญหาคำร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมบริการ
-มีการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมบริการที่ดีอย่างไร อะไรคือแรงจูงใจที่มีพลังสูง
-มีการนำมาตรการทางสังคม (ของผู้ให้บริการ) มาใช้ในการควบคุมกำกับพฤติกรรมบริการอย่างไร
-มีการนำระบบประเมินผลและ feed back มาใช้ในการควบคุมกำกับพฤติกรรมบริการอย่างไร
-ในหน่วยงานที่ต้องรับภาระงานหนักหรือมีปริมาณผู้ป่วยมาก มีวิธีการจัดการอย่างไรเพื่อลดความตึงเครียดของเจ้าหน้าที่อันจะนำไปสู่พฤติกรรมบริการที่ไม่เหมาะสม
-เมื่อไรที่จะใช้การลงโทษเมื่อเกิดปัญหาพฤติกรรมบริการ
-วิธีการทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักในคุณค่าของตนเอง (ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมบริการที่ดี) มีอะไรบ้าง - Critical Issue 4 การบริหารความเสี่ยง
ประเด็นปัญหา 1: การวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงทางคลินิก
คำถาม:
-ตัวอย่างความเสี่ยงที่ค้นพบได้ในช่วงหลังๆ มีอะไรบ้าง มีที่มาในการค้นพบความเสี่ยงนั้นอย่างไร
-มีแนวทางในการตัดสินใจอย่างไรว่าอะไรเป็นความเสี่ยงที่มีความสำคัญสูง
-มีแนวทางในการค้นหาความเสี่ยงในเชิงรุกอย่างไร
-มีวิธีการในการกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ค้นหาความเสี่ยงด้วยตนเองอย่างไร
-มีวิธีการอย่างไรในการนำแพทย์เข้ามาร่วมค้นหาและวิเคราะห์ความเสี่ยงทางคลินิก
-ทำอย่างไรจะค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกได้ครอบคลุม
-มีเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงทางคลินิกอย่างไร
-มีการค้นหาความเสี่ยงรายโรคอย่างไร
-มีการวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงในภาพรวมอย่างไร
-ปัจจัยที่ทำให้การค้นหาความเสี่ยงประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ประเด็นปัญหา 2: เจ้าหน้าที่ขาดความตระหนักและไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้
คำถาม:
-กลยุทธ์ที่ได้ผลในการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความเสี่ยงคืออะไร
-จะทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงทางคลินิกอย่างไร
-ตัวอย่างความร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันที่กำหนดไว้เป็นอย่างดีมีอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวคืออะไร
-มีการ monitor การปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้อย่างไร
-เมื่อพบว่าเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการอย่างไร
ประเด็นปัญหา 3: เจ้าหน้าที่ไม่กล้ารายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ข้อมูลไม่สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
คำถาม:
-จะสร้างความตระหนักอย่างไรให้มีการรายงานอุบัติการณ์มากขึ้น
-จะสร้างความไว้วางใจให้มีการรายงานอย่างไร สร้างแรงจูงใจอย่างไร ลดภาระงานในการรายงานอย่างไร
-กลุ่มงาน/ฝ่ายต่างๆ สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร ปรับระบบงานในกลุ่มงาน/ฝ่ายอย่างไร เพื่อส่งเสริมให้มีการรายงานที่สมบูรณ์
-ประเด็นที่ sensitive ในการรายงานอุบัติการณ์มีอะไร ทาง รพ.แก้ไขอย่างไร
-การรายงานอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลังๆ เป็นอุบัติการณ์เกี่ยวกับอะไร เหตุใดจึงมีการรายงานเพิ่มขึ้น
-รพ.ประเมินความสำเร็จของการรายงานอุบัติการณ์อย่างไร จะมั่นใจอย่างไรว่าความเสี่ยงจะไม่ถูกปกปิด
ประเด็นปัญหา 4: ยังคงมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นซ้ำๆ เนื่องจากไม่ได้วิเคราะห์ให้ได้ root cause ของปัญหา
คำถาม:
-รพ.นำผลรายงานอุบัติการณ์มาใช้อย่างไร มีการติดตามแก้ไข และการป้องกันการเกิดซ้ำอย่างไร
-อุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกมีอะไรบ้าง มีแนวทางในการวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขปัญหาอย่างไร
-มีวิธีการวิเคราะห์ให้ได้รากของปัญหาเพื่อแก้ไขอย่างไร
-รู้ได้อย่างไรว่ามีการแก้ปัญหาที่รากเหง้า
-ทำอย่างไรให้ RCA อยู่ในชีวิตการทำงานประจำวัน
-การทำ RCA ที่ง่ายและได้ผลเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจะทำให้การทำ RCA ไม่กระทบไปที่ตัวบุคคล
-อะไรคือ root cause ที่พบบ่อย
-เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สามารถเชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาเชิงระบบได้อย่างไร
-ขอตัวอย่างความเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญ และการหา RCA ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
ประเด็นปัญหา 5: การจัดการความเสี่ยงในภาพรวมยังขาดความเชื่อมโยง และไม่รู้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
คำถาม:
-จะวัดประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยงอย่างไร
-มีแนวทางการเชื่อมโยงของระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพอย่างไร
-มีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิกอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
-มีวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลความเสี่ยงจากทุกโปรแกรมสู่ RM ใหญ่ เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวโน้ม จัดลำดับความสำคัญ และหา RCA รวมทั้งหาแนวทางแก้ไข หามาตรการป้องกันอย่างเป็นระบบอย่างไร - Critical Issue 5: Medication Error
ประเด็นปัญหา: ข้อมูลเรื่อง med error ไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่ทราบระดับปัญหาที่แท้จริง, ไม่ได้นำข้อมูลไปใช้แก้ปัญหา, ไม่มีการป้องกันปัญหา med error อย่างเชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพ
คำถาม:
-ทำอย่างไรจะรวบรวมข้อมูล med error ได้สมบูรณ์ครบทั้งระบบ
-มีวิธีการเก็บข้อมูลเรื่อง admin error ที่เชื่อถือได้และไม่เป็นภาระมากเกินไปอย่างไร
-นำข้อมูลที่รายงานไปใช้แก้ปัญหาอย่างไร
-ทำอย่างไรจะเชื่อมโยงปัญหาระหว่างแต่ละจุด/แต่ละวิชาชีพได้
-ทำอย่างไรให้องค์กรแพทย์/แต่ละวิชาชีพ ยอมรับปัญหาและร่วมกันแก้ไข
-มีแนวทางในการป้องกันปัญหาอย่างไรในหน่วยงานเภสัช/หอผู้ป่วย/ระหว่างวิชาชีพ
-ทำอย่างไรจึงจะลดความซ้ำซ้อนของการคัดลอกคำสั่งยาให้เหลือน้อยที่สุด
-มีวิธีการอย่างไรในการลด admin error ให้เหลือน้อยที่สุด
-มีการจัดลำดับความสำคัญของ med error หรือเลือก med error ที่มีความสำคัญสูงมาดำเนินการป้องกันอย่างไร
-มีการเชื่อมโยงข้อมูล med error กับ ADR อย่างไร
-มีการนำ IT มาใช้ในการเก็บข้อมูล med error และป้องกันปัญหา med error อย่างไร - Critical Issue 6: เครื่องชี้วัด
ประเด็นปัญหา: ไม่ชัดเจนว่าควรติดตามเครื่องชี้วัดอะไรบ้าง ไม่มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องชี้วัดที่เก็บไว้
คำถาม:
-ทำอย่างไรให้มีจำนวนเครื่องชี้วัดที่เป็นประโยชน์และจำนวนไม่มากเกินไป
-ทำอย่างไรให้มีการเชื่อมโยงเครื่องชี้วัดในระดับต่างๆ จากระดับโรงพยาบาลไปสู่ระดับทีมนำทางคลินิก และไปสู่หน่วยงาน
-มีแนวทางในการคัดเลือกเครื่องชี้วัดในแต่ละระดับอย่างไร
-มีการสนับสนุนให้ทีมงานสามารถแปลความหมายเครื่องชี้วัด/วิเคราะห์ข้อมูลและนำเครื่องชี้วัดมาใช้ประโยชน์อย่างไร
-ขอตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อจำกัดของเครื่องชี้วัดที่ใช้อยู่และการปรับปรุงวิธีการเก็บ/ใช้เครื่องชี้วัดดังกล่าว เช่น อัตราตายรวมของ รพ.
-มีแนวทางในการพิจารณาอย่างไรว่าเครื่องชี้วัดใดที่ควรคงไว้ เครื่องชี้วัดใดที่ควรยกเลิก - Critical Issue 7: ผู้นำองค์กร
ประเด็นปัญหา: ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงทุก 2 ปี ทำให้การพัฒนาคุณภาพไม่ต่อเนื่อง
คำถาม:
-ทำอย่างไรให้โรงพยาบาลชุมชนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการบ่อยๆ มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
-ทำอย่างไรจะสร้างทีมแกนนำซึ่งอยู่กับโรงพยาบาลนานพอที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาได้
-มีการใช้ศักยภาพจากภายนอก (เช่น การสร้างช่วยเหลือกันในระดับโซน การสร้างระบบคุณภาพร่วมกันในระดับจังหวัด) มาช่วยธำรงการพัฒนาในโรงพยาบาลชุมชนอย่างไร
-จะสื่อสารกับผู้อำนวยการที่มารับตำแหน่งใหม่ ให้เข้าใจและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพที่ดำเนินการไว้ก่อนหน้านี้อย่างไร
-ทำอย่างไรให้พันธกิจและแผนกลยุทธ์ของโรงพยาบาลมีผลในการปฏิบัติต่อไป แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการ - Critical Issue 8: การผ่าตัดคลอด
ประเด็นปัญหา: อัตราการผ่าตัดคลอดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
คำถาม:
-การเก็บข้อมูลอัตราการผ่าตัดคลอดที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง และสามารถใช้เปรียบเทียบกับ รพ.อื่นได้ ควรจำแนกหรือจัดกลุ่มอย่างไร ควรกำหนดคำจำกัดความให้ตรงกันอย่างไร
-ทีมงานสูติกรรมมีแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการลดอัตราการผ่าตัดคลอดอย่างไร
-วิธีการที่ได้ผลในการลดอัตราการผ่าตัดคลอด และได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีมีอะไรบ้าง
-มีแนวทางในการให้มารดาและครอบครัวมีส่วนในการลดอัตราการผ่าตัดคลอดอย่างไร - Critical Issue 9: การเชื่อมโยง HA กับ HPH
ประเด็นปัญหา: ทีมงานยังสับสนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นการทำงาน HA กับ HPH ที่เชื่อมโยงกันอย่างไร
คำถาม:
-มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันอย่างไร
-ประเด็นสำคัญที่ต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกันในเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
-แรงจูงใจที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการพัฒนาทั้ง HA และ HPH ควบคู่กันคืออะไร
-การประสานแผนงานและวิธีทำงานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันมีอะไรบ้าง
-วิธีคิดหรือเจตคติอะไรที่เป็นอุปสรรคในการเชื่อมโยงการนำ HA กับ HPH ไปปฏิบัติควบคู่กัน มีแนวทางในการสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติอย่างไร
จากอนุวัฒน์ ศุภชุติกุล anuwat@ha.or.th